การพัฒนาบัญชีรายการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

"ชุดโครงการชุดโครงการเมืองยั่งยืน "

การพัฒนาบัญชีรายการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

(Environmental Inventory Database Development of Local Government for Sustainable City)

หัวหน้าโครงการ : รศ.ดร. เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษา

ผู้ร่วมวิจัย

  • ดร. รัตชยุดา กองบุญ รองหัวหน้าหน่วยวิจัยเพื)อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ

บทสรุปย่อผู้บริหาร

-

-

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) (ที่เกี่ยวข้องกับโจทย์วิจัย, ประเด็นวิจัย, input, และ outputs ในระยะต่าง ๆ)
ต้นน้ำ : ประชาชน
กลางน้ำ : หน่วยงานรัฐและเอกชน
ปลายน้ำ : เทศบาล

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. เพื่อพัฒนาระบบจัดทำบัญชีรายการข้อมูลสิ่งแวดล้อมของเมืองในรูปแบบออนไลน์
  2. เพื่อหาแนวทางลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมของเมือง เพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อสิ้นสุดการวิจัย

  1. Output
    1.1 เทศบาลได้กระบวนการการเก็บข้อมูลและฐานข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมบนระบบแบบออนไลน์
    1.2 เทศบาลได้ทราบผลการดำเนินงานทางด้านสิ่งแวดล้อมของตัวเองในแต่ละตัวชี้วัด
    1.3 เทศบาลได้แนวทางการลดหรือป้องกันผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมสู่แผนการดำเนินงานของเทศบาลทั้งในเชิงนโยบาย และเชิงปฏิบัติในรูปแบบของโครงการหรือกิจกรรมภายใต้แผนการทำงานของเทศบาล
  2. Outcome
    2.1 เทศบาลมีมาตรฐานการดำเนินงานทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับจากบุคคลภายนอกได้ และสามารถที่จะเปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmark) ในระดับเทศบาลเอง หรือค่ามาตรฐานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้
    2.2 เทศบาลมีแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองได้อย่างยั่งยืน จากการนำข้อมูลมาใช้ตัดสินใจเชิงนโยบายและแผนการดำเนินงานของเทศบาล เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินงานที่ผลลัพธ์ที่ไม่สอดคล้อง หรือไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ หรือไม่แก้ไขปัญหาได้ไม่ตรงประเด็น รวมถึงช่วยประหยัดงบประมาณ ประหยัดทรัพยากรบุคคลในการดำเนินงาน
    2.3 เมื่อขยายผลครอบคลุมทุกเทศบาลจะทำให้ข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมของแต่ละเทศบาลเป็นฐานข้อมูลของประเทศ (Big Data) โดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงบริหารจัดการระดับประเทศได้
  3. Impact
    3.1 เทศบาลมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการและกระบวนการเก็บข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
    3.2 เทศบาลมีฐานข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถวัดผลการดำเนินงานทางด้านสิ่งแวดล้อมของตนเอง
    3.3 เทศบาลใช้ข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการวัดผลการดำเนินงานก่อนและหลังได้
    3.4 เทศบาลทราบปัญหาหรือข้อจำกัดในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อหาระบบจัดการให้การได้มาซึ่งข้อมูลมีความถูกต้อง แม่นยำสามารถสอบกลับได้ ทั้งนี้เพื่อการวัดผลทางสิ่งแวดล้อมของเมืองมีผลที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ